วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหว่ยหล่าง ตอนที่ 6

ตอนที่ 6....โศลกอันลือเลื่อง
      มนุษย์ที่ยังไม่ได้พบหนทางแห่ง ธรรมญาณย่อมสับสนถ้อยคำว่า ความรู้กับ ปัญญาเพราะเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน แท้ที่จริงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนความรู้เป็นความจำ อ่านมากฟังมากย่อมมีความรู้มากเป็น สัญญาขันธ์ที่ตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง พอมีกิเลสมากระทบความรู้ย่อมหายไปได้ง่ายๆ ส่วนปัญญาเป็นอานุภาพของ ธรรมญาณสามารถแยกแยะ ผิดหรือ ถูกได้ แต่เพราะไม่พบหนทางแห่งธรรมญาณอันแท้จริงจึงมีปัญญาทั้งที่ถูกและผิดต่อสัจธรรม ถ้าเปรียบไปแล้วเหมือนกองไฟมีเชื้อเพลิงคือฟืนโหมใส่มากเท่าใดความสว่างไสวก็ย่อมมากขึ้นเป็นเงาตามตัวความรู้จึงเปรียบเสมือนฟืน ส่วน ปัญญาคือแสงสว่างแห่งกองเพลิง ถ้าได้ฟืนดีแสงสว่างก็โชติช่วง แต่ถ้าได้ฟืนไม่ดี แสงสว่างก็มืดมัว ความรู้ดี ย่อมส่งผลให้เกิดปัญญาดี ความรู้ชั่ว จึงก่อให้เกิด ปัญญาชั่ว
ส่วนท่านฮุ่ยเหนิงมิได้ร่ำเรียนพุทธธรรมมาก่อนเลย ครั้นได้ยินโศลกของท่านเสินซิ่วก็แยกเเยะออกด้วย สัมมาปัญญาว่า ยังเป็นโศลกที่ติดยึดอยู่ในรูปและนาม จึงวานให้เสมียน จาง ยื่อย่ง ช่วยเขียนโศลกซึ่งมีข้อความดังนี้ไร้กาย ไร้ต้นโพธิ์ ไร้จิต ไร้บานกระจก   เดิมที่ไม่มีใดใด ฝุ่นจะจับลงที่ตรงไหน
 ข้อความแห่งโศลกนี้ทำให้มหาชนในที่นั้นตื่นเต้นส่งเสียงสรรเสริญดังไปถึงพระอาจารย์หงเหยิ่น จึงออกมาดู ครั้นเห็นคนเหล่านั้นพากันเต็มตื้นด้วยความอัศจรรย์ใจ จึงถอดรองเท้าออกมาลบโศลกนั้นเสีย เพื่อแสดงให้ชนทั้งหลายเข้าใจว่า ท่านฮุ่ยเหนิงก็ยังมิใช่ผู้ค้นพบ ธรรมญาณแห่งตน คนทั้งหลายจักได้พอใจไม่ทำร้ายด้วยจิตริษยา แต่โศลกอันลือเลื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงสภาวะแห่งรากฐานของธรรมมญาณแท้ตามธรรมชาติเป็น สุญญตา ไม่เกี่ยวเนื่องกับเหตุปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้น จัดเป็นความว่างจาก นามและรูปโดยสิ้นเชิงและถ้าท่านฮุ่ยเหนิงมิได้เข้าถึงสภาวะนั้นย่อมไม่มีปัญญาแยกแยะชี้ให้ชนทั้งปวงเห็นถึงสัจธรรมแห่งธรรมญาณวันรุ่งขึ้นพระอาจารย์หงเหยิ่นจึงรอบมาที่โรงครัวซึ่งขณะนั้นท่านฮุ่ยเหนิงกำลังใช้สากหินตำข้าว ซึ่งตามประวัติความเป็นมาได้บันทึกเอาไว้ว่า ท่านฮุ่ยเหนิงเป็นคนร่างเล็กเตี้ย แต่การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องต้องใช้น้ำหนักของตัวเองเหยียบกระเดื่องให้สากตำข้าว ท่านจึงใช้แผ่นหินผูกเอวเพื่อเพิ่มน้ำหนัก ตามตำนานเล่าว่า ท่านฮุ่ยเหนิงตำข้าวจนเชือกบาดไหล่เป็นแผลมีน้ำเหลืองไหล หนอนที่กินน้ำเหลืองหล่นลงไปท่านยังจับให้หนอนขึ้นมากินน้ำเหลืองต่อไป โดยไม่ได้แสดงถึงความเจ็บปวด เหตุการณ์ตอนนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวะจิตเป็นหนึ่งอันเป็นสมาธิจิตสูงสุด ปล่อยวางตัวตนให้เหลือแต่ ธรรมญาณแท้ๆ ที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้อีกต่อไป  พระอาจารย์หงเหยิ่นจึงถามว่าข้าวได้ที่หรือยัง  ได้ที่นานแล้ว รออยู่แต่ตะแกรงสำหรับร่อนเปลือกเท่านั้นท่านฮุ่ยเหนิงตอบ คำโต้ตอบมีความหมายแฝงเร้นที่รู้เฉพาะกันสองท่านคือ ของพระอาจารย์หงเหยิ่นมีความนัยว่า สภาวะแห่งจิตได้เข้าที่วิปัสสนาญาณอย่างแท้จริงแล้วหรือ
 ส่วนคำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมอธิบายว่า มีปัญญาญาณอันนิ่งสงบรออยู่แต่การชี้แนะหนทางของการปลดปล่อยให้เป็นอิสระอย่างแท้จริงเท่านั้น พระอาจารย์หงเหยิ่น จึงใช้ไม้เท้าเคาะครกตำข้าวสารทีแล้วเอามือไขว้หลังหันหลังเดินจากไป ปริศนาแห่งการเคาะครกตำข้าว ท่านฮุ่ยเหนิงก็ทราบดีถึงการบอกใบ้เพราะตามภาษาจีนอ่านออกเสียงว่า ซันจิงปั้นเอวี้ยก็ความหมายว่า ยามสามเที่ยงคืนให้ไปพบ มือไขว้หลัง ก็หมายถึงเข้าทางประตูหลัง  เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงไปถึงห้อง พระอาจารย์หงเหยิ่นจึงใช้จีวรคลุมเพื่อบังมิให้ใครเห็นและถ่ายทอดธรรมอันเร้นลับ พิธีเช่นนี้คงมิได้มีความเพียงมิให้รู้ไปถึงบุคคลที่สามเท่านั้น เพราะการใช้จีวรคลุมทั้งๆ ที่อยู่ในห้องของพระอาจารย์หงเหยิ่น ซึ่งเร้นลับอยู่แล้ว ย่อมต้องมีความหมมายไปถึงการป้องกันภูติผีปิศาจ หรือมารร้ายทั้งปวงล่วงรู้ประตูแห่งอนุตตรธรรมซึ่งเป็นการถ่ายทอดจากจิตสู่จิตอันเป็นต้นกำเนิดแห่ง ธรรมญาณซึ่งหมายถึง ต้นธาตุต้นธรรม พิจารณาจากรูปลักษณ์ย่อมหมายถึงศูนย์กลางกายอันเป็นต้นกำเนิดแห่งกายสังขาร และโยงใยไปถึงประตูเข้าออกของ ธรรมญาณซึ่งพระอาจารย์หงเหยิ่นเป็นผู้เปิดทวารแห่งธรรมญาณให้แก่ท่านฮุ่ยเหนิง และอาศัยวัชรสูตรอธิบายให้เห็นถึงสภาวะแห่งธรรมญาณอันเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง พ้นไปจากความดีและความชั่ว เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงรู้ญาณทวารสภาวะความเป็นแห่ง ธรรมญาณจึงปรากฎขึ้น นับเป็นการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ ท่านจึงเปล่งวาจาออกมาว่าแท้จริงทุกสิ่งอย่างในจักรวาลก็คือ ธรรมญาณมิใช่อื่นไกลเลยถ้อยคำนี้มีความหมายเช่นเดียวกับพระพุทธวจนะทรงกล่าวไว้ว่า เราคือจักรวาล จักรวาลคือเราความหมายอันแท้จริงคือ ธรรมญาณมาจากศูนย์พลังแห่งธรรมชาติ ซึ่ง ก่อกำเนิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้ในจักรวาลนี้ ท่ามกลางฟ้าดิน มนุษย์จึงมีความศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์ที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น